ในนามของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ผมก็เลยเขียนบทความนี้ขึ้นมา..55555
มาดูโซลูชั่นกันก่อน
จริงๆแล้ว น้ำท่วมรถ สามารถแก้ได้หลายวิธี
- ง่ายสุด เอารถไปจอดบนตึกจอดรถ
- ทำแพ ยางใน อันนี้เห็นพวกมูลนิธิ ใช้ลากรถที่โดนน้ำท่วมตอนปี 53 เมพมากๆ (Proof แล้วเวิร์คชัวร์)
(ข่าวอ้างอิง)
http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=371816&ch=lc1
- มีเด็กอาชีวะเลย ทำผ้าถุงคลุมรถ แต่ท้ายที่สุดแล้ว เหมือนจะไม่ได้ทำขาย
(อัพเดตครับ ตอนนี้มีคนทำขายแล้ว รวดเร็วจริงๆ)
ถุงที่ทำขาย หน้าตาแบบนี้ครับ
ราคาขายอยู่ที่ 3,900 บาท ไปซื้อได้ที่ งานโฮมโปร เมืองทอง หรือ ลองโทรติดต่อไปที่บริษัท ดิจิตอลเซิร์ฟ รามคำแหง 24 โทร 02-7190120
- และมนุษย์โลกก็ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน สร้างเวอร์ชั่นนี้ขึ้นมา
วิธีการ เอารถเข้าถุง ก็ต้องเอาคน 4 คนช่วยกันดึง
หรือไม่ก็แนวนี้
ตอนนี้มีแนวคิดใหม่เพิ่มเติม แบบนี้ครับ
คือเป็นการเอาพลาสติคที่ใช้พันรอบพัสดุหรือลังสินค้า มาทำให้พันรถกลายเป็นดักแด้ไปเลย
ประเด็นวันนี้ก็คือ ตระกูลถุงทั้งหลายนั้น รถจะลอยหรือไม่ลอย??
ผมจะอธิบายด้วย ฟิสิกส์มอปลายครับ (หรือมอต้นหว่า)
แรงยกของแรงลอยตัว จะเท่ากับ น้ำหนักของน้ำที่วัตถุเข้าไปแทนที่
ความหนาแน่นของน้ำเปล่า คือ 1 กิโลกรัม / ลิตร
ถ้าเป็นน้ำโคลน ก็ยิ่ง หนาแน่นกว่านั้นอีก
คำนวณง่ายๆ
ถ้ารถหนัก 1 ตัน จะต้องแทนที่น้ำเท่าไหร่ ถึงจะลอย ?
ก็แทนที่น้ำ 1000 กิโล ซึ่ง ทำกับ 1000 ลิตร
แล้วปริมาตร 1000 ลิตรนี่มันแค่ไหนกันนะ
1000 ลิตร ก็ประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร (1 x 1 x 1 เมตร)
ถ้าพยายามทำให้เป็นทรงของรถยนต์ เบๆ เลยก็ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 50 เซนติเมตร
แต่เราก็รู้ว่า ไม่มีรถยนต์คันไหน กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร
Toyota Vios ยาว 4.3 เมตร กว้าง 1.7 เมตร หนัก 1,065 กก. (รุ่นหนักสุด)
คำนวณความสูงน้ำ ก่อนรถจะลอย ก็ 1.065 / (4.3 x 1.7) = 14.5 เซนติเมตร
พูดง่ายก็คือ ถ้าขึงให้ผ้าใบหรือผ้าพลาสติคหย่อนไปติดกับท้องรถ ระดับน้ำสูงจากใต้ท้องรถขึ้นมา 14.5 เซนติเมตร วิออสก็เริ่มลอยแล้วครับ
แต่ถ้าขึงผ้าพลาสติคตึง ไม่ติดท้องรถ ระยะก็จะเป็น 14.5 เซนติเมตร จากพื้นถนนเลย
คันอื่นๆก็หลักการเดียวกัน
(ตอนแรกๆต้องคำนวณพิสูจน์ ตอนนี้มีคนลองจริงแล้ว ดูวิดีโอข้างล่างได้เลย)
Honda City ยาว 4.4 เมตร กว้าง 1.69 เมตร หนัก 1,150 กก (รุ่นหนักสุด)
คำนวณความสูงได้ 1.15 / (4.4 x 1.69) = 15.4 เซนติเมตร ไม่ได้หนีกันเท่าไหร่
ที่นี้มาดูรถใหญ่กันบ้าง
Honda Accord รุ่นท็อปสุด รุ่น 3.5V6
รถยาว 4.94 กว้าง 1.84 หนัก 1,652 กก
ระยะกินน้ำก่อนลอย = 1.65 / (4.94 x 1.84) = 9.08 เซน เท่านั้น
รถยิ่งใหญ่ ความหนาแน่นยิ่งต่ำ (ยิ่งโปร่ง)
BMW Series 3 (e90)
ยาว 4.53 เมตร กว้าง 1.98 เมตร หนัก 1,465 กก
อันนี้ = 1.46 / (4.53 x 1.98) = 16.2 เซนติเมตร
สรุป คือจะบอกว่า ก็ลอยกันทั้งนั้นแหละ
ระยะที่ว่า นี้คือ นับจากใต้ท้องรถนะครับ ไม่ใช่นับจากล้อ
จริงๆแล้วมีประเด็นที่น่าสนใจ เพราะจริงๆแล้ว น้ำหนักรถไม่ได้เฉลี่ยเท่ากันทั้งคัน
ด้านหน้า หนักกว่า เพราะเป็นเครื่องยนต์
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็น แพยางใน หรือถุงหุ้ม ก็ต้องระวังเรื่องการถ่ายเทน้ำหนักดีๆ
ไม่งั้นรถจะเป็นแบบนี้
อันนี้เป็นภาพจริงจากเหตุการณ์ Tsunami ที่ญี่ปุ่น
ซึ่งเราจะเห็นว่า รถลอยกันตุ๊บป่องๆ หน้าทิ่มๆกัน
รถพวกนี้ ไม่ได้เคลื่อนที่เพราะโดนน้ำพัดไถลนะครับ แต่ลอยตามกระแสน้ำเลย
ดังนั้น พวกตระกูล ถุงหุ้มทั้งหลาย จงระวังหุ้มด้านหน้าไว้ให้เยอะๆ เท่าที่ดู ก็มิดกระจกหน้าละครับ
จะให้ดีก็เอาให้รอบคันไปเลย
(Update: ตอนแรกผมนึกว่าหน้ารถจะทิ่ม แต่จากวิดีโอที่ทดลองจริง ปรากฏว่า ก็ลอยตัวเสมอดี แสดงว่าโพรงอากาศในห้องเครื่องก็มีปริมาตรไม่น้อยเช่นกัน เอาเป็นว่าใช้วิจารณญาณละกันครับ)
มีข้อควรระวังอีกอย่างนึง ก็คือ ถุงหุ้ม ถ้าเป็นพลาสติคไม่ได้หนามาก
ถ้าขึงตึงๆ แล้วเอารถวิ่งทับ น้ำหนักรถทับผ้า และขึงจนตึง
เมื่อแรงน้ำพยายามกดขึ้น ผ้าจะโดนรถทับไว้ และจะขาด ถ
วาดภาพง่ายๆ ก็เหมือนเอาผ้าใบ มาขึงตึงๆสี่มุม แล้วเอารถวิ่งทับ
ผ้าใบคงรับน้ำหนักรถได้ยาก
ถ้าจะให้ดี ควรให้ใต้ท้องรถนั้น ผ้ามีพื้นที่ย่นเข้าแนบติดใต้ท้องรถ จะได้ไม่ต้องรับน้ำหนักรถเต็มๆ
แต่ถ้าคิดว่าผ้าใบหนาพอ ก็สบายใจได้
ลองดูสาธิตการห่อ และเดโม่การจุ่มน้ำได้จากวิดีโอ ของ ม.สุรนารี
ผมคิดว่า แนวคิดรถลอยนั้นสำคัญมาก เพราะ ถ้าเคว้งคว้างไปมาก อาจจะไปชนกับของภายในบ้าน ทำให้เกิดรอยบนรถได้
แต่ถ้าจอดในที่สาธารณะ อันตรายสุดๆ นอกจากจะลอยไปตามกระแสน้ำแล้ว
ขโมยยังเหมือนมี Super แม่แรง ที่ทำให้เขาสามารถแทบจะผลักรถโดยใช้นิ้วเดียวได้เลย
เข็นด้านข้าง หมุนรถ สบายมาก
สัญญาณกันขโมยพวกที่ตรวจสอบความเอียง คงจะดังกันจนป่วน (หรือเปล่า?)
ถ้ารถจะต้องแช่น้ำจริงๆ
1. ถอดแบตตารี่ออก
2. ถอดกล่อง ECU อันแสนแพงออก
3 หุ้มปลายท่อไอเสีย กันน้ำเข้าเครื่อง
4 หุ้มท่ออากาศเข้าเครื่อง (หลังใส้กรองอากาศ)
5 หุ้ม ก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง